ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์

เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์หรือ Creative theory

หากอ้างอิงจากทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของเดวิส Davis (1973 : อ้างถึงใน กรมวิชาการ. 2535 : 6-7) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของนักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์โดยแบ่งแนวความคิดเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 4 กลุ่มดังนี้

1.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์

มีนักจิตวิทยาทางจิตวิเคราะห์หลายคน เช่น ฟรอยด์ (Freud) และ คริส (Kris) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในจิตใต้สํานึก ระหว่างแรงขับทางเพศ (Libido) กับความรู้สึกผิดชอบทางสังคม (Social Conscience)

ดังนั้นเพื่อให้ แรงขับทางเพศได้แสดงออกมาในรูปหรือพฤติกรรมที่สังคมยอมรับได้ จึงเปลี่ยนเป็น ความคิด สร้างสรรค์

ส่วน คูไบ (Kubie) และ รัค (Rugg) ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์แนวใหม่กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นระหว่างการรู้สติกับจิตใต้สานึก  ซึ่งอยู่ในขอบเขตของจิตส่วนที่เรียกว่า จิตก่อนสํานึก

2.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม

นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการ เรียนรู้ โดยเน้นที่ความสําคัญของการเสริมแรง การตอบสนองที่ถูกต้องกับสิ่งเร้าเฉพาะหรือ สถานการณ์

นอกจากนี้ยังเน้นความสัมพันธ์ทางปัญญา คือการโยงความสัมพันธ์จากสิ่งเร้าหนึ่งไปยัง สิ่งเร้าต่างๆ ทําให้เกิดความคิดใหม่หรือสิ่งใหม่เกิดขึ้น

3.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมานุษยนิยม

นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่ง มาสโรว์ (Maslow) และ โรเจอร์ (Rogers) เป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญของแนวคิดกลุ่มนี้

โดยมีแนวความคิดว่าผู้ที่สามารถนําความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้คือผู้ที่มีสัจการแห่งตน คือรู้จักตนเองตรงตามความเป็นจริง เข้าใจตนเอง พอใจและยอมรับตนเองทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่บกพร่อง ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ตระหนักและใช้ตนเองเต็มตามศักยภาพของตน

มนุษย์จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนเองมาได้อย่างเต็มที่นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การตระหนักรู้ในความสามารถของตนเอง

สามารถพึ่งพาตนเอง ริเริ่มสิ่งใหม่ และพัฒนาตนเองได้ โดยมีอิสรภาพในการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกทําสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ผู้คนรอบข้าง และสังคมให้เกิดประโยชน์สุข

ซึ่งบรรยากาศที่สําคัญที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ คือ การสร้างสภาวะหรือ บรรยากาศที่เอื้ออํานวย อันประกอบด้วยความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา ความมั่นคงของจิตใจ มอง เห็นศักดิ์ศรี และคุณค่าของตนเอง

ความปรารถนาที่จะเล่น ความคิดอันเป็นอิสระในการสร้างสรรค์สิ่ง ต่างๆ ด้วยตนเอง และการเปิดกว้างที่จะรับประสบการณ์ใหม่

human with creative thinking

โดยกลุ่มมานุษยนิยมได้เน้นถึงบรรยากาศที่จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ว่าจะต้องประกอบด้วย ปัจจัยสําคัญดังนี้

1 มีภาวะความปลอดภัยทางจิต กล่าวคือ

  • มีการยอมรับในค่าของความเป็นคน เคารพในสิทธิและความคิดเห็น
  • ไม่มีการตีราคา ประเมิน หรือเปรียบเทียบความคิดเห็น และผลงาน
  • ทุกคนทํางานด้วยความสบายใจ ไม่ต้องหวั่นวิตกและเกรงการถูกทําโทษ ถูกตําหนิ หรือถูกตัดสินว่าทําดีหรือไม่ดี
  • มีความมั่นใจในตนเอง มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
  • มีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบในความสําเร็จ หรือความล้มเหลวของตนได้

2 มีภาวะที่มีเสรีภาพในการแสดงออก กล่าวคือ

  • มีจิตใจกว้างที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ
  • มีความปรารถนาที่จะเล่นกับความคิด และสิ่งแปลกใหม่
  • เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดที่แตกต่าง
  • มีความสนใจต่อเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก รวมทั้งประเด็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ยุติ

4.ทฤษฎีอูต้า (AUTA)

ทฤษฎีนี้เป็นรูปแบบของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ที่ เดวิด (David) และ ซัลลิแวน (Sullivan) คิดค้นในปี ค.ศ. 1980

โดยอธิบายว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถส่งเสริมพัฒนาให้สูงขึ้นได้ ด้วยการส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ตามการจัดลําดับของการพัฒนาแบบ อุต้า (AUTA) ซึ่งมี 4 ลําดับขั้นตอน ดังนี้

4.1 การตระหนัก (Awareness) คือ การตระหนักถึงความสาคัญของความคิด สร้างสรรค์ที่มีต่อตัวเอง สังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตนเองด้วย

4.2 ความเข้าใจ (Understanding) คือ มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราว ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่

a) บุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์

b) ธรรมชาติของกระบวนการคิดสร้างสรรค์

c) ความสามารถที่สร้างสรรค์

d) ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์

e) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์

f) วิธีฝึก และปัจจัยที่ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

4.3 เทคนิควิธี (Techniques) คือ การรู้จักเทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็น มาตรฐาน ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้

a) การระดมพลังสมอง (Brainstorming)

b) การเอาคุณลักษณะต่าง ๆ ออกมาแจกแจง หรือปรับลักษณะต่างๆ

c) การจับคู่ในลักษณะ 2 ด้าน แล้วจับคู่สลับกันหลาย ๆ คู่ ก็จะได้รูปแบบหลายรูปแบบ

d) การใช้ความคิดริเริ่มหรือการสร้างสิ่งใหม่ ๆ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

e) การคิดโดยเอาสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมาเกี่ยวข้องกันหรือทําสิ่งธรรมดาให้แปลกใหม่ โดยการใช้ คุณลักษณะของการเปรียบเทียบมาใช้

4.4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ (Actualization) คือ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง และพยายามใช้ตนเองและพยายามใช้ตนเองเต็ม ศักยภาพ

รวมทั้งการเปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม การตระหนัก ถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การผลิตผลงานด้วยตนเอง และมีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต ได้ด้วยตนเองดังนี้

a) เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่าง ๆ โดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

b) มีความตระหนักถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

c) ผลผลิตผลงานด้วยตนเอง

d) มีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต

สรุป

โดยสรุปแล้วเมื่อเราพิจารณาจากองค์ประกอบของทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีในตัวบุคคลทุกคนตามธรรมชาติ

และสามารถที่จะพัฒนาให้สูงขึ้นได้โดยอาศัยการตระหนักรู้ในตนเอง การเรียนรู้ที่เปิดกว้าง มีสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้ออํานวย ที่จะช่วยผลักดันให้บุคคลสามารถดึงศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของตนเอง ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในที่สุดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Resilience ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี

Resilience คืออะไร Resilience หรือ "ความยืดหยุ่น" หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวจากความยากลำบาก ความเครียด หรือสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยไม่สูญเสียความมั่นใจและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต…...

ทักษะ resilence คืออะไร

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือชุดของทักษะ ความรู้ที่สำคัญเพื่อประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ และเตรียมพร้อมสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความท้าทาย...

ทักษะในศตวรรษที่ 21

12 เทคนิคการตั้งเป้าหมายสู่ความสำเร็จ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตคนเรามีความก้าวหน้าคือ "การตั้งเป้าหมาย" เพราะเป้าหมายจะทำให้เรารู้ว่าต้องวางแผนและเตรียมตัวอย่างไร บทความนี้มีข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์...

เทคนิคการตั้งเป้าหมายสู่ความสำเร็จ

100 คำคมสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลัง สร้างกำลังใจให้ชีวิต

กำลังใจดีๆบางครั้งก็ได้มาจากข้อความสั้นๆ บทความนี้จึงรวบรวมคำคมสั้นๆ ประโยคทรงพลัง คําคมสร้างแรงบันดาลใจ สร้างกำลังใจสู่เป้าหมายและความสำเร็จ...

ขออภัยค่ะ ยังไม่มีหลักสูตร Public Training ในช่วงนี้

กรุณากรอกชื่อและอีเมลฝากไว้ได้นะคะ เราจะแจ้งให้ทราบถ้ามีข้อมูลอัพเดทค่ะ
Subscription Form