ความสำคัญและจุดเด่นของ Mind Map

จุดเด่นของ Mind Map คือ วิธีการสําคัญที่จะช่วยปลดปล่อยให้ตัวเรามีอิสรภาพในการคิด คิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงภาพและความทรงจําที่ความหมายต่างๆ จากในหัวของเรา

จุดเด่นของเครื่องมือ Mind Map

หากผมจะกล่าวถึงจุดเด่นของเครื่องมือ Mind Map ที่เด่นชัด ผมสามารถบอกจากความรู้และ ประสบการณ์ของผมได้เลยว่า Mind Map คือ วิธีการสําคัญที่จะช่วยปลดปล่อยให้ตัวเรามีอิสระภาพ ในการคิด คิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงภาพและความทรงจําที่ความหมายต่างๆ จากในหัวของเรา

ช่วยให้ข้อมูลต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในหัวสมอง ถูกนํามาจัดระบบระเบียบเสียใหม่ เปลี่ยนจากเรื่อง ยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยการใช้การจินตนาการให้ออกมาเป็นภาพ สีสัน คําสําคัญ และเส้นสาย ต่างๆ บนสื่อที่เราใช้เขียนได้อย่างน่าอัศจรรย์

จนหลายๆ ครั้งผู้เรียนที่ได้รับประสบการณ์การฝึกฝนการใช้ Mind Map กับผมถึงกับซึ้งในการเรียนรู้ของตัวเองและอุทานออกมาว่า

“เพิ่งรู้ว่าผมเองก็สามารถคิดเป็นระบบแบบนี้ได้ด้วย”

“หนูเคยเขียน Mind Map เมื่อตอนเรียนมหาลัยเพราะอาจารย์ให้เขียนสรุปบทเรียนส่ง แต่หนูเพิ่งเข้าใจว่า Mind Map มันเป็นประโยชน์จริงๆ ก็วันนี้เอง”

ในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Mind Map ก็มีอยู่ตามสื่อต่างๆ มากมาย สามารถหาได้ทั้ง บทความ ภาพ และคลิป ซึ่งก็มีประโยชน์มากสําหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ด้วยเครื่องมือตัวนี้

แต่ที่น่าเสียดายคือ คนที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับเครื่องมือชิ้นสําคัญที่เรียกว่า Mind Map แล้วกลับไม่สามารถเข้าถึงแก่นของประโยชน์ที่แท้จริง จนกระทั่งสามารถปลดปล่อยศักยภาพใน การคิดของสมองของตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่ได้

เนื่องจากที่คนที่ถ่ายทอดความรู้หลายๆ ท่านอาจ จะยังไม่เข้าใจเครื่องมือนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากพอและยังคงมีความเข้าใจผิดอยู่ในหลายประเด็น ทําให้ การถ่ายทอดความเข้าใจเหล่านั้นเป็นเพียงแค่จําตามๆ กันมา

เพราะแม้กระทั่งผมซึ่งเป็นหนึ่งใน Certified Mind Map ในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์การจัดฝึก อบรมผู้คนมาแล้วจํานวนมากนับหลายหมื่นคน ก็ยังคงมีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ด้วยตัวเองมาอย่าง ต่อเนื่อง

มีการผสมผสานความรู้ความเข้าใจจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ออกมาเป็นเทคนิคการสอนเฉพาะ ตัว ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและได้รับประโยชน์สูงสุด

เพิ่มขีดความสามารถของผู้ เรียนในการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างสรรค์ ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ได้ดีและฉับไวมากยิ่งขึ้น เพื่อผลลัพธ์ที่จะตามมาก็คือชีวิตและการงานของผู้เรียนที่จะดียิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงจุดเด่นของ Mind Map จึงไม่ได้มีแค่ตัวเครื่องมือเท่านั้น แต่ประสบการณ์ที่ผู้สอนจะนํามา ถ่ายทอดให้อย่างได้ผลจะช่วยให้เครื่องมือทางความคิดตัวนี้ มีความเฉียบคมมากยิ่งขึ้น ประสิทธิภาพ ในการประยุกต์ใช้งานหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ที่สําคัญอีกอย่างก็คือ การที่เราได้เรียนรู้ถึงที่มาที่ไป เหตุ และผลของเทคนิควิธีต่างๆ ที่มีความหมายสําคัญที่ซ่อนอยู่ในวิธีการใช้งาน จะช่วยให้คุณได้สนุกกับ การคิดอย่างมีอิสระ และมีสาระอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว


แนวความคิดเริ่มต้นของ Mind Map สู่แรงบันดาลใจ

เวลาที่คุณนึกถึงคําว่า Mind Map คุณนึกถึงอะไรบ้างครับ?

นึกถึงภาพผังข้อมูลที่ช่วยในการจัดระบบ ความคิด

นึกถึงภาพที่เป็นเส้นสายสีๆ ที่โยงใยกระจายไปเต็มหน้ากระดาษ

นึกถึงภาพการ์ตูนน่ารักๆ หรือภาพก้อนเมฆกลมๆ ที่เชื่อมโยงกัน

นึกถึงภาพที่เด็กหรือตัวคุณใช้วาดเพื่อส่งครูในโรงเรียน หรือแม้กระทั่งภาพผนังติดตามคนร้ายของทีมตํารวจสืบสวนในหนังซีรีส์ ฯลฯ

สิ่งที่คุณนึกภาพออกเหล่านี้ล้วน เป็นความหมายที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะว่า มันคือภาพความหมายที่ได้มาจากความทรงจําของคุณครับ

children prefer picture than

กระบวนการคิดและจดบันทึกแบบ Mind Map ก็คือการนําเอาสิ่งที่อยู่ในสมองของคุณออกมาบันทึกไว้ ที่กระดาษหรือสื่ออื่นๆ ตรงหน้าคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้อย่าง ชัดเจนอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

ปัญหาที่ผมพบในตัวของผู้เรียนในคลาสได้บ่อยครั้งก็คือ เมื่อคุณมีความรู้สึกถึงชุดข้อมูลบางอย่าง รู้ว่ามันเป็นประโยชน์ในงานนี้นะ แต่ก็ไม่รู้วิธีว่าจะดึงเอาชุดข้อมูลเหล่านั้นให้ออกมาให้เห็นได้ชัดเจน แล้วเอามาเชื่อมโยงเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบได้อย่างไร

ซึ่ง โทนี่ บูซาน (Tony Buzan) ประธานของมูลนิธิสมอง (The Brain Foundation) ที่ปรึกษาขององค์กร ระหว่างประเทศ และเป็นผู้ที่คิดค้นเครื่องมือที่เรียกว่า Mind Map ก็เคยพบปัญหาเหล่านี้กับตัวเองมาก่อน ตั้งแต่สมัยที่เค้ายังเป็นนักศึกษาหนุ่มอยู่ในมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย คณะจิตวิทยา

ด้วยความสงสัยในปัญหาที่ตัวเค้าและเพื่อนๆ หลายคนพบเจอ ที่แม้ว่าจะตั้งใจเรียนมากก็แล้ว พยายามจด เพื่อให้จําก็แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสมองจะไม่เป็นใจ เพราะสิ่งที่เค้าอยากจําให้ได้กลับเลือนหายไปใน เวลาไม่นาน

หลังจากนั้น โทนี่ บูซาน (Tony Buzan) จึงได้เพียรค้นคว้าศึกษา วิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการทํางาน และภาษาของสมอง ความทรงจํา การเรียนรู้และการจดบันทึก รวมไปถึงความรู้ทางจิตวิทยา

เพื่อให้สามารถใช้ศักยภาพของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นจึงได้ถือกําเนิดเครื่องมือที่เรียกว่า Mind Map ขึ้นมาบนโลกใบนี้ให้พวกเราได้ใช้ประโยชน์กันถึงทุกวันนี้

ในประเทศไทยความคิดเรื่องของ Mind Map ที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางเอกสาร คือการกล่าวถึงคําว่า “แผนที่ความคิด” ในหนังสือ “เทคนิคการส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์” โดย ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541

วิธีการที่เรียกว่า Mind Map นี้ ได้มีการแพร่หลายในเมืองไทยมากขึ้น โดยอาจารย์ธัญญา และ อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ ได้มีการจัด ฝึกอบรมเรื่อง Mind Map ให้แก่คนไทยอย่างเต็มรูปแบบ ถูกต้องตามแบบฉบับของ Tony Buzan

โดยผมได้รับโอกาสในการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับอาจารย์ทั้งสองท่านที่ผมเคารพรักมา ยาวนานเกือบสิบปี ซึ่งอาจารย์ธัญญา ท่านเคยเล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งที่เดินทางไปสอน Mind Map ร่วม กันให้แก่องค์กรมหาชนแห่งหนึ่งว่า

“เมื่อครั้งที่ผมได้มีโอกาสบินไปเรียนรู้เรื่อง Mind Map เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ผมรู้สึกตื่นเต้น มาก ที่ในโลกใบนี้มีวิธีการคิดเจ๋งๆ แบบนี้อยู่ด้วย ผมคิดว่าถ้าคนได้มีโอกาสรู้จักกับเครื่องมือตัวนี้ เมื่อ คนไทยมีความสามารถในการคิดเป็นด้วยตัวเองได้ ประเทศไทยจะพัฒนาไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม..”

อาจารย์เล่าให้ผมฟังด้วยรอยยิ้มและแววตาที่เป็นประกาย ซึ่งแรงบันดาลใจนี้ก็ได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ตัว ผมที่ได้ทุ่มเทและเอาใจใส่ในการพัฒนาหลักสูตรการสอนมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับเกียรติจากลูกค้า ให้ไปจัดฝึกอบรมเรื่อง Mind Map ให้แก่องค์กรต่างๆ ทั่วประเทศจวบจนถึงปัจจุบัน

สรุป

ซึ่งถ้าหากคุณเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะพัฒนาทักษะความคิดที่ถูกต้อง ด้วยจุดเด่นของเครื่องมือ Mind Map ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นให้แก่ตนเองและบุคลากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่มีโอกาสได้รับคําแนะนําจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างเป็นกันเอง ด้วยเทคนิควิธีการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติอย่างได้ผล

อีกทั้งมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการทํางานของสมอง และศาสตร์อื่นๆในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วยแล้ว จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้คุณและคนในองค์กรของคุณสามารถดึงศักยภาพในการคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างเต็มที่ และได้รับประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้อย่างแน่นอน

“เพราะเวลาไม่เคยรอใคร” ยิ่งในโลกยุค Disruption แบบนี้ อย่าลังเลใจที่จะทักเข้ามาสอบถามเพื่อ ขอคําปรึกษาและเลือกรับบริการที่คุณถูกใจได้เลยนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Resilience ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี

Resilience คืออะไร Resilience หรือ "ความยืดหยุ่น" หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวจากความยากลำบาก ความเครียด หรือสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยไม่สูญเสียความมั่นใจและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต…...

ทักษะ resilence คืออะไร

Interpersonal Skills คืออะไร? สำคัญอย่างไรในที่ทำงาน?

ทักษะระหว่างบุคคล Interpersonal Skills คือ ทักษะที่มีความสำคัญในการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ถือเป็นทักษะพื้นฐานให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น...

interpersonal skills คือ

Analytical Thinking คืออะไร?

การคิดเชิงวิเคราะห์หรือ Analytical Thinking คือ หนึ่งในทักษะแห่งอนาคตที่องค์กรต้องการ เป็นทักษะที่ทำให้แยกแยะหาสาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไขอย่างเหมาะสม...

analytical thinking คือ

Critical Thinking คืออะไร?

ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์หรือ Critical Thinking คือหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตที่คนยุคใหม่ต้องมี เพื่อสามารถรับมือกับโลกที่ผันผวน และข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมเข้ามาไม่สิ้นสุด...

critical thinking คือ

ขออภัยค่ะ ยังไม่มีหลักสูตร Public Training ในช่วงนี้

กรุณากรอกชื่อและอีเมลฝากไว้ได้นะคะ เราจะแจ้งให้ทราบถ้ามีข้อมูลอัพเดทค่ะ
Subscription Form