8 เทคนิคการใช้ Mind Map ให้เกิดประโยชน์

1.การใช้ Mind Map เพื่อตัดสินใจเรื่องต่างๆในชีวิต


2.การใช้ Mind Map เพื่อช่วยในการจดบันทึก


3.การใช้ Mind Map เพื่อวางแผนการเงินในชีวิตประจำวัน


4.การใช้ Mind Map เพื่อการตั้งเป้าหมายชีวิต


5.การใช้ Mind Map เพื่อการนำเสนอผลงาน

การนําเสนอไม่ว่าแบบตัวต่อตัว กลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ไม่ว่าในสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ ถือเป็นส่วนสําคัญอย่างยิ่งในชีวิตการทํางาน แต่ถึงกระนั้นหลายคนก็ยังมีความกลัวกับการพูดในที่สาธารณะ

ดังนั้นการใช้ Mind Map จะช่วยให้เตรียมข้อมูลนำเสนอได้ดีขึ้น และยังช่วยให้การนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นของคุณชัดเจน น่าสนใจ และมีประสิทธิผล

วิธีเตรียม Mind Map ในการนำเสนอ

เมื่อสร้าง “แก่นแกน” ขึ้นมาแล้ว ก่อนอื่นก็ทํา Mind Map ระเบิดความคิดเพื่อหาความคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่คุณต้องการซึ่งผุดขึ้นมาในหัว

ดู Mind Map ระเบิดความคิดนั้นอีกครั้ง จัด “กิ่งแก้ว” และ “กิ่งก้อย” แล้วเติมคํากุญแจอะไรก็ได้ที่ผุดขึ้นมาในความคิดของคุณ

เนื่องจากคํากุญแจแต่ละคําจะต้องใช้เวลาในการนําเสนอไม่น้อยกว่าหนึ่งนาที ดังนั้น จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะจํากัดจํานวนคําและภาพกุญแจใน Mind Map ของคุณสูงสุดไม่เกิน 50 คํา สําหรับการพูดหนึ่งชั่วโมง

ดู Mind Map ของคุณอีกครั้ง คราวนี้ลดขนาดให้เล็กลงโดยตัดสาระทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปเสีย ในขั้นนี้คุณควรใส่รหัสทั้งหลายลงไปด้วย เพื่อชี้ว่าตอนไหนคุณจะต้องเสริมภาพสไลด์ วิดีโอ จุดอ้างอิงพิเศษ ยกตัวอย่าง ฯลฯ

ที่นี้ค่อยมาพิจารณาลําดับก่อนหลังบนเส้นกิ่งแก้วของคุณว่า คุณต้องการนําเสนอสิ่งใดก่อน แล้วลงตัวเลขกํากับไว้

สุดท้าย กําหนดระยะเวลาสําหรับแต่ละกิ่งที่คุณจะพูด แล้วเพียงแต่ทําไปตามวาระที่คุณกําหนดเท่านั้น

ตัวอย่างการนําเสนอด้วย Mind Map

การนําเสนอด้วย Mind Map
John Naisoitt

รูป Mind Map นี้เขียนขึ้นโดย จอห์น เนสบิตต์ (John Naisoitt) ใช้เพื่อบรรยายภาพอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

การพยากรณ์ รูป “แก่นแกน” เป็นรูปของเนสบิตต์  โดยมีลูกศรพุ่งออกจากศีรษะ สื่อความหมายถึงวิสัยทัศน์ที่มีต่ออนาคต

เส้นกิ่งก้อยสิบเส้นซึ่งลงหมายเลขกํากับไว้ แสดงถึงภาคส่วนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามคําทํานายของเนสบิตต์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ประโยชน์ของ Mind Map ในการนําเสนอ

  1. ได้ใช้ทักษะสมองอย่างกว้างขวางมากขึ้น
  2. ทําให้คุณสามารถปรับการนําเสนอตามความต้องการของผู้ฟังและกําหนดเวลาได้อย่างแม่นยํา
  3. ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงหรือขยายการพูดในประเด็นสําคัญ
  4. ผลที่ออกมาจะมีความน่าจดจํามากกว่า มีประสิทธิผลมากกว่าและสนุกกว่าทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  5. ให้อิสระแก่ตัวคุณเอง

6.การใช้ Mind Map สำหรับการประชุม

Mind Map มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อนําใช้ในการประชุม ประธานที่ทําวาระการประชุมในรูป Mind Map จะสามารถใช้กรอบพื้นฐานนี้เติมความคิด แนวทางการหารือ และบันทึกข้อสรุปพื้นฐานในสิ่งที่จะนําไป ปรากฏในรายงานการประชุมได้ทั้งหมด

ในการประชุม ทุกคนต้องเป็นทั้งผู้นําเสนอที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ดี การใช้ Mind Map จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

ทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม ซึ่งการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันนี้คือกุญแจสําคัญที่ จะทําให้การประชุมนั้นมีแรงกระตุ้นและได้ประสิทธิผลอย่างแท้จริง

แนวทางการทำ Mind Map สำหรับการประชุม

ประเด็นหรือวาระในการประชุม คือ ตัวกําหนด “แก่นแกน”

และหัวข้อสําคัญในวาระการประชุม จะถูกนําไปเป็น “กิ่งแก้ว”

ขณะที่การประชุมดําเนินไป คุณสามารถจะใส่ความเห็นและข้อมูลทั้งหลายลงไปได้ในที่ๆคุณเห็นว่าเกี่ยวข้อง

หรือไม่อีกทางหนึ่ง คุณอาจทํา Mind Map ฉบับเล็กสําหรับผู้พูดแต่ละคนก็ได้ ตราบเท่าที่สิ่งเหล่านี้ยังอยู่บนกระดาษแผ่นโตแผ่นเดียวกัน มันจะง่ายดายต่อการหาจุดอ้างอิงเมื่อมีประเด็น หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามนั้น

และเช่นเดียวกันอีก ไม่มีความจําเป็นที่คุณจะต้องกังวลว่า Mind Map ของคุณจะดูยุ่งเหยิง มันแค่สะท้อนให้เห็นถึงความสับสนของการสื่อสารเฉพาะในช่วงเวลาประชุมเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนํามาจัด ใหม่ให้เกิดความชัดเจนขึ้นในภายหลังได้

ประโยชน์ของ Mind Map สําหรับการประชุม

  1. ผู้เข้าประชุมแต่ละคนต้องเข้าใจทัศนะของคนอื่น ๆ เป็นอย่างดี
  2. จัดวางความคิดเห็นทั้งหมดเอาไว้อย่างพร้อมมูล
  3. การรวมความคิดเห็นของทุกคนลงไว้ใน Mind Map จะช่วยเพิ่มพลัง ความกระตือรือร้น และความ ร่วมมือในกลุ่มให้มากขึ้น
  4. ผู้เข้าประชุมแต่ละคนจะมีบันทึกการประชุมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ อันจะช่วยให้แน่ใจได้ว่าทุกคนเข้าใจ และระลึกได้อย่างถูกต้องในมติที่ประชุม
  5. โดยที่ถือได้ว่า Mind Map เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง ดังนั้น การประชุมด้วย Mind Map จึงใช้เวลาเพียงหนึ่งในห้าเมื่อเทียบกับการประชุมทั่วไป
  6. เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายที่ประกาศไว้

7.การใช้ Mind Map สําหรับการสอบ

เมื่อใช้การจดบันทึกด้วย Mind Map ตลอดหลักสูตรการเรียน และได้ทบทวน Mind Map เหล่านั้น ตามช่วงเวลาที่แนะนํา คุณก็จะพร้อมยิ่งกว่าพร้อมสําหรับการสอบ สิ่งที่คุณต้องการเพื่อแปลงความรู้อันล้ำเลิศ ออกมาเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมคือวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น

ขั้นแรกคือต้องอ่านข้อสอบให้ถี่ถ้วน เลือกหาคําถามที่คุณจะต้องตอบทั้งหมด ทํา Mini-Mind Map แสดงความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวคุณในขณะที่อ่านข้อสอบนั้น

ขั้นต่อไป คุณต้องตัดสินใจว่าจะเรียงลําดับการตอบของคุณอย่างไร และจะให้เวลาเท่าไหร่ต่อการตอบแต่ละคําถาม

ระงับความรู้สึกอยากที่จะเริ่มต้นตอบคําถามตั้งแต่ข้อแรกเรียงตามลําดับไป ขอให้ทํา Mind Map ระเบิดความคิดสําหรับคําถามทุกคําถามที่คุณตั้งใจจะตอบ

ด้วยการทําตามวิธีการนี้ คุณจะทําให้ความคิดของคุณสํารวจตรวจสอบดูทั่วทั้งข้อสอบ รวมทั้งประเด็นปลีกย่อยของทุกคําถาม  โดยไม่ต้องคํานึงถึงคําถามที่ยากเป็นพิเศษที่คุณจะต้องตอบภายในเวลาที่กําหนด

คราวนี้กลับไปที่คําถามข้อแรก เขียน Mind Map ขึ้นมาเพื่อให้เป็นกรอบสําหรับคําตอบของคุณ ให้ “แก่นแกน” มีความสอดคล้องกับความเห็น

ในขณะที่แต่ละกิ่งเป็นตัวแทนของหัวข้อหรือส่วนย่อยในข้อเขียนนั้น สําหรับกิ่งก้อยที่ต่อขยายออกมาจากเส้นกิ่งแก้ว คุณก็สามารถนําไปเขียนเป็นหนึ่งหรือสองย่อหน้าได้

ขณะที่คุณสร้างคําตอบ คุณจะพบว่าคุณหาจุดอ้างอิงได้ตลอดทั่วโครงสร้างความรู้ของคุณ และสามารถจะสร้างข้อสรุปโดยเพิ่มเติมความคิด ความเชื่อมโยง และการตีความหมายของตนเองลงไปได้อีกด้วย

คําตอบเช่นนี้ย่อมชี้ให้ผู้ตรวจข้อสอบเห็นได้ถึงความเข้าใจในความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ การจัดการ การผนึกประสานและการอ้างอิง โดยเฉพาะความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และสร้างความคิดริเริ่ม ในวิชานั้นด้วยตัวเอง


8.การใช้ Mind Map กับกิจกรรมเล่าเรื่องสำหรับครอบครัว

การเล่าเรื่องโดยใช้ Mind Map

การเล่าเรื่องโดยใช้ Mind Map เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีความท้าทาย และสนุก นอกจากนั้น มันยังช่วยเสริมสร้างความแนบแน่นและ เพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

ก่อนอื่นต้องเตรียมพร้อมเรื่องบรรยากาศและอุปกรณ์ก่อนค่ะ ได้แก่ กระดาษเขียน Mind Map สำหรับปูวางลงบนพื้นห้องหรือบนโต๊ะพร้อมปากกาหมึกสีคุณภาพดี ๆ

กระบวนการเล่าเรื่องด้วย Mind Map แบ่งออกได้ เป็นเจ็ดขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้คือ

1.คิดหาแนวเรื่อง

ให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวต่างคนต่างระดมสมองสร้างแนวคิดสําหรับเทพนิยายสุดยอด สร้างสรรค์ขึ้นมาเรื่องหนึ่ง

แนวคิดเหล่านี้อาจสร้างเป็นชื่อเรื่องที่คิดขึ้นมา (ยิ่งหวือหวาหลุดโลกเท่าไหร่ก็ยิ่งดี..) หรืออาจกําหนดตัวละครสําคัญ ๆ ในเรื่อง (อาจเป็นสัตว์ พืชผัก สัตว์ประหลาดจากต่างดาว หรือแม้กระทั่ง มนุษย์ก็ได้)

แต่ละคนอ่านแนวคิดออกมาเพื่อลงมติเลือกว่าจะใช้ชื่อเรื่องชื่อไหน หรือตัวละครตัวใดบ้างสําหรับทํา Mind Map แบบกลุ่มในวันนี้

บางครั้งอาจตัดสินใจเลือกได้ยาก แต่คุณสามารถเก็บแนวคิดอื่นเอาไว้ไปเล่ากัน ในวันอื่นต่อไปก็ได้

2 ระดมสมองของแต่ละคน

แต่ละคนเอากระดาษใหม่ไปคนละแผ่น ให้ทุกคนเขียน “แก่นแกน” ที่ตนเองเลือกขึ้นมาหรือจะเป็น ตัวละครตัวหนึ่งก็ได้ แล้วใช้เวลาประมาณ 20 นาทีทํา Mind Map

ระเบิดความคิดหาแนวคิดแรก ๆ ที่ผุดขึ้น มาในหัวเพื่อสร้างให้เรื่องราวนั้นมีความริเริ่ม น่าสนใจ และมีความเป็นพิเศษ

3.สร้างและปรับปรุง Mind Map ใหม่

ตอนนี้ให้สมาชิกแต่ละคนจัดลำดับความคิดเบื้องต้น (BOIs) ของตน ซึ่งควรจะประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ อาจจะบางหัวข้อ หรือทั้งหมดก็ได้

โครงเรื่อง

ตัวละคร

เนื้อเรื่อง

ฉาก

ระดับภาษาที่ใช้

รูปภาพ

คติธรรม

ความรู้สึก

ผลสุดท้าย

หัวข้อเหล่านี้จะนํามาเป็นกิ่งแก้วหลักใน Mind Map ที่แก้ไขปรับปรุงและเขียนขึ้นใหม่ เด็กอาจจะจําเป็นต้องให้พ่อแม่คอยช่วยอยู่บ้างค่ะ

แต่ขอให้อธิบายเพียงว่า ตัวละคร คือ “บุคคลที่อยู่ในเรื่อง” โครงเรื่อง คือ “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง” หรืออะไรทํานองนี้เท่านั้นก็พอ

Mind Map เหล่านี้ควรจะใส่รูปภาพและ สีสันลงไปมาก ๆ และควรใช้เวลาทําประมาณ 30-40 นาที ค่ะ

4.บ่มเพาะความคิด

เมื่อทํามาถึงขั้นนี้ให้ทุกคนพักสักหน่อย เล่นเกมกันบ้าง พักผ่อน หาอะไรดื่มหรืออาจมีของว่าง ด้วยสักเล็กน้อย

จากนั้นก็ใช้เวลาอีกสัก 30 นาทีดูและออกความเห็น Mind Map ของคนอื่น ๆ ช่วงเวลานี้ จะสนุกมากพอ ๆ กับจะเกิดความประหลาดใจได้มากด้วย เพราะจะพบว่าแต่ละคนในครอบครัวนั้นมี จินตนาการสูงกว่าที่คิดเสียอีก

เพียงแต่ให้ระลึกไว้ว่าสิ่งสําคัญคือต้องมองแนวคิดของคน อื่นด้วยความรู้สึกที่ดีเท่านั้น การวิพากษ์วิจารณ์หรือติเตียนในขั้นนี้จะเป็นตัวลดความเชื่อมั่นและความ สนุกสนานของคน ๆ นั้นลงเป็นอย่างมาก

5.สร้าง Mind Map กลุ่มครั้งที่หนึ่ง

เลือกใครสักคนหนึ่งขึ้นมาเป็นคนวาด หรือมิฉะนั้นก็อาจให้แต่ละคนแบ่งกันเขียนในแต่ละส่วนของ Mind Map ขนาดยักษ์นี้ก็ได้

เริ่มด้วยการวาด “แก่นแกน” โดยใช้สีสันหลากหลายและมีหลายมิติ จากนั้นก็ จัดลำดับความคิดเบื้องต้น (BOIs) ที่เห็นว่าดีที่สุดเพื่อสร้างโครงเรื่องขึ้นมา ใส่รัศมีความคิดลงไปในกิ่งแก้วแต่ละกิ่งให้ มากเท่าที่ต้องการ

การจัดลําดับความคิดเบื้องต้น หรือ BOIs คือ การใช้คำหรือภาพต่างๆเพื่อจัดลำดับความสำคัญและเชื่อมโยงให้สมองจดจำได้ง่ายขึ้น

healthy

ตัวอย่างเช่น การมีสุขภาพดีประกอบด้วยปัจจัยหลัก 5 อย่าง คือ การออกกำลังกาย อาหาร อากาศ อารมณ์ และการขับถ่าย 5 อย่างนี้เป็นการจัดลำดับในเชิงกว้าง
จากนั้นมีการเชื่อมโยงเพื่อจัดลำดับในเชิงลึก เช่น การออกกำลังกายสามารถแยกย่อยลงเป็นแบบแอโรบิค และแบบแอนแอโรบิคแบบแอโรบิคแยกย่อยลงเป็น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น

6. การเล่าเรื่อง

เมื่อทํา Mind Map เสร็จ ทุกคนก็มานั่งล้อมวงกัน ให้แต่ละคนผลัดกันเล่าเรื่องราวแต่ละตอน

เรื่องที่เล่านั้นอาจส่งต่อไปสู่อีกคนหนึ่งตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ทิ้งค้าง “ไม่มีบทสรุป” เพื่อให้คน ต่อไปได้คิดสร้างจินตนาการ ความมหัศจรรย์ และเหลี่ยมคมต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

สมาชิกแต่ละคนจะต้องตั้งเป้าหมายสร้างเรื่องราวให้มีความมหัศจรรย์เพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีจินตนาการในการเขียน Mind Map

7 สร้าง Mind Map กลุ่มครั้งที่สอง :

หลังจากพักกันอีกสักครู่หนึ่ง คุณก็ย้อนกลับมาเล่าเรื่องราวทั้งหมดใหม่อีกครั้ง และขณะเดียวกัน ก็สร้าง Mind Map ขั้นสุดท้ายให้สวยงามกว่าเดิม

Mind Map ขั้นสุดท้ายนี้อาจเป็นการช่วยกันทําทั้งกลุ่ม หรือแยกกันทําเป็นของแต่ละบุคคลก็ได้

เพื่อให้เรื่องราวทั้งหมดดูดีขึ้น จะเป็นการดีมากหากจะถ่ายทอด ข้อความทั้งหมดลงในกระดาษ ใช้ตัวหนังสือตัวโต ๆ ประมาณว่าไม่เกินสิบบรรทัดต่อหน้า ด้านหลังของแต่ละ หน้าจะเป็นหน้าว่าง ๆ ซึ่งในนั้นให้สมาชิกแต่ละคนวาดรูปให้เข้ากับข้อความในแผ่นนั้น วิธีนี้ครอบครัวทั้งหมดก็ จะร่วมกันสร้างห้องหนังสือเทพนิยายขึ้น

ซึ่งในวิธีการของการเป็นผู้เขียนร่วมกันนั้น พวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะ ได้อย่างมหาศาลอันจะสามารถถ่ายทอดไปใช้ในโรงเรียนได้อีก

Mind Map และรูปภาพต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถนําตกแต่งผนังห้องนอนของเด็ก ๆ อีกด้วย (ที่จริงแล้วกิจกรรมมักจบลงด้วยการที่เด็กๆเอา Mind Map เหล่านี้มาประดับไว้เต็มบ้าน)

ประโยชน์ของการทํา Mind Map ในครอบครัว

  1. ทำให้เด็กๆและสมาชิกในครอบครัวทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ๆ มากขึ้น ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  2. การใช้วิธีเล่าเรื่องราวด้วย Mind Map จะทําให้คนทั้งครอบครัวมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
  3. ช่วยเพิ่มแรงจูงให้ทุกคนพัฒนาการคิดและความสามารถในการจดบันทึกด้วย Mind Map
  4. ช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จากการที่สมาชิกทุกคนได้มีกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน

Reference: credit image and info from

  • Wikipedia Tony Buzan
  • mind map mastery book by Tony Buzan
  • ETV สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา

บทความที่เกี่ยวข้อง

Resilience ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี

Resilience คืออะไร Resilience หรือ "ความยืดหยุ่น" หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวจากความยากลำบาก ความเครียด หรือสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยไม่สูญเสียความมั่นใจและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต…...

ทักษะ resilence คืออะไร

Interpersonal Skills คืออะไร? สำคัญอย่างไรในที่ทำงาน?

ทักษะระหว่างบุคคล Interpersonal Skills คือ ทักษะที่มีความสำคัญในการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ถือเป็นทักษะพื้นฐานให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น...

interpersonal skills คือ

Analytical Thinking คืออะไร?

การคิดเชิงวิเคราะห์หรือ Analytical Thinking คือ หนึ่งในทักษะแห่งอนาคตที่องค์กรต้องการ เป็นทักษะที่ทำให้แยกแยะหาสาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไขอย่างเหมาะสม...

analytical thinking คือ

Critical Thinking คืออะไร?

ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์หรือ Critical Thinking คือหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตที่คนยุคใหม่ต้องมี เพื่อสามารถรับมือกับโลกที่ผันผวน และข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมเข้ามาไม่สิ้นสุด...

critical thinking คือ

ขออภัยค่ะ ยังไม่มีหลักสูตร Public Training ในช่วงนี้

กรุณากรอกชื่อและอีเมลฝากไว้ได้นะคะ เราจะแจ้งให้ทราบถ้ามีข้อมูลอัพเดทค่ะ
Subscription Form