เจาะลึก Gen X เคล็ดลับทำงานกับคน Gen X ยังไงให้เวิร์ค

Gen X คือใคร?

Gen X หรือ Generation X คือคนที่เกิดในช่วง ค.ศ.1965-1980 หรืออายุ 41-56 ปี

สำหรับคน Gen X มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ยับปี้” (Yuppie) ซึ่งย่อมาจาก Young Urban Professionals หมายถึงพวกที่เกิดมาในยุคมั่งคั่ง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของคอมพิวเตอร์เดสก์ท๊อป, วีดีโอเกม, เกมกด, โทรศัพท์มือถือ, อินเตอร์เน็ต, จักรยาน BMX, Skateboard ฯลฯ

Reference: Wikipedia

สำหรับคนในยุคนี้เป็นยุคที่มีการให้ควบคุมอัตราการเกิดของประชากร เนื่องจากยุคเบบี้บูมเมอร์เริ่มมีประชากรมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาตามมาคือทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงมีนโยบายการควบคุมประชากร เช่นในประเทศจีนมีการรณรงค์ให้คนมีลูกได้เพียง 1 คนเท่านั้น

Gen X ได้รับอิทธิพลและแนวความคิดจากคนยุคเบบี้บูมเมอร์ทั้งในเรื่องความจงรักภักดีต่อองค์กรและมุ่งมั่นในการทำงาน แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดยืดหยุ่น ไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ และเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ


ลักษณะนิสัยของคนยุค Gen X

มีความคิดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองสูง

คนเจนนี้มักจะมีความคิดเป็นอิสระ ไม่ค่อยยึดถือกรอบประเพณีแบบดั้งเดิม หลายคนมีแนวโน้มต่อต้านสังคม ไม่ยึดถือเรื่องศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก สามารถยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป

ให้คุณค่ากับการสร้างความสมดุลในเรื่องงานและครอบครัว (work life balance)

ทำงานตามหน้าที่ ไม่บ้างาน ไม่ทุ่มเทเหมือนคนยุคเบบี้บูมเมอร์ ทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง มีลักษณะพึ่งพาตัวเองมากกว่าจะพึ่งพาผู้อื่น

คนเจนนี้มักจะมีแบบแผนเรื่องเวลาและจัดสรรแบ่งเวลาสำหรับการทำงาน ครอบครัว และงานอดิเรกที่ชอบ

ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีได้ดี

แม้ว่าคน Gen X จะไม่ใช่สายเทคโนโลยีอย่างคนรุ่น Gen Y และ Gen X แต่ Gen X ก็อยู่ในระดับแนวหน้าการเปลี่ยนผ่านจากเทคโนโลยีอนาล็อกเป็นดิจิทัล

โดยได้เห็นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เดสก์ท๊อป โทรศัพท์มือถือ โซเชียลมีเดีย วีดิโอเกมและอินเตอร์เน็ต,  Gen X สามารถปรับตัวได้สูงและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆอย่างรวดเร็ว

เปิดกว้างในการพูดคุยและรับข้อติชม

Gen X ยินดีในการพูดคุย มีการตอบสนองต่อคำติชมและวิจารณ์ได้ดีโดย และเปิดกว้างในการรับฟังผู้อื่น

มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

เนื่องจากเติบโตมาในวัยเด็กยังไม่มีเทคโนโลยีการสื่อสารหรืออินเตอร์เน็ตในช่วงต้นๆ, Gen X จึงอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นโดยไม่ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร จึงได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skills)

ด้วยเหตุนี้ Gen X จึงทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนและทำงานเป็นทีม


แนวทางทำงานร่วมกันคน Gen X

ให้อิสระในการทำงานโดยไม่ไปก้าวก่ายควบคุม

Gen X ต้องการความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบพึ่งพาใคร แต่ก็มีความคิดที่เปิดกว้างที่จะรับฟังคำแนะนำเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของตนเอง

ให้ความสำคัญกับเวลา

Gen X ให้ความสำคัญมากกับการใช้เวลา เมื่อมีการประชุมควรบริหารเวลาให้เป็นไปตามที่กำหนด

Gen X ชอบความตรงไปตรงมา สื่อสารด้วยข้อมูลที่ชัดเจน กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ไม่สูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

พึงระลึกว่า Gen X ต้องการ work life balance

ไม่ควรสั่งงานนอกเวลางานเพราะคนกลุ่มนี้ต้องการความสมดุลในเรื่องงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว จึงต้องให้ความสำคัญกับเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวของ Gen X

หากมีงานที่ต้องทำล่วงเวลา ควรเสนอผลตอบแทนในสำหรับงานล่วงเวลาและมีข้อกำหนดในเรื่องเวลาทำงานให้ชัดเจน

อย่าบริหารงานแบบจู้จี้จุกจิก คอยจับผิดและตรวจสอบรายละเอียดทุกขั้นตอน

Gen X คือคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ต้องการอิสระในการทำงาน จึงไม่ชอบวิธีบริหารงานแบบจู้จี้จุกจิก คอยจับผิดทุกขั้นตอนจะทำให้อึดอัดใจ เกิดความรู้สึกว่าถูกลดอิสระในการทำงานลง ทำให้พวกเขาไม่มีความสุข จนอยากลาออกได้เลย

แนวทางที่ควรทำคือ ไม่ควรเข้าไปควบคุมหรือจัดการรายละเอียดต่างๆในการทำงาน ปล่อยให้เขาจัดการด้วยตัวเอง ให้ปล่อยวางเลิกสนใจในรายละเอียดจุดที่เล็กๆเกินไป

การที่เป็นผู้บริหารที่ดีสำหรับ Gen x นั้นคือมอบหมายให้ทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้และให้คำแนะนำเมื่อเขาต้องการคำปรึกษา มากกว่าเข้าไปชี้นิ้วสั่งทุกอย่าง ให้เป็นผู้สนับสนุนมากกว่าเป็นผู้ควบคุมสั่งการ และบอกเป้าหมายว่าต้องการจะได้อะไร มากกว่าที่จะบอกว่าทำอย่างไร


ตัวอย่างบุคคล Gen X ที่มีชื่อเสียง

Reference: www.onthisday.com


Reference

  • wikipedia
  • www.onthisday.com
  • กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน
  • การแบ่งคนเป็น Generations มาจากไหน? ทำไมต้องนิยามจากช่วงอายุ? thematter.co
  • วารสารมหาวิทยาลัยพายัพปีที่ 28 ฉบับที่ 2

หากคุณสนใจทักษะที่จะนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขออภัยค่ะ ยังไม่มีหลักสูตร Public Training ในช่วงนี้

กรุณากรอกชื่อและอีเมลฝากไว้ได้นะคะ เราจะแจ้งให้ทราบถ้ามีข้อมูลอัพเดทค่ะ
Subscription Form