Spiritual Health สุขภาวะทางปัญญา คืออะไร ส่งเสริมความสุขในการทำงานได้อย่างไร

ชวนมาสำรวจแนวคิดรวมถึงทำความเข้าใจที่มาของ นิยามของ Spiritual Health และความสำคัญของ

สุขภาวะทางปัญญาทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงานที่หลายคนอาจมองข้ามไป

โดยอ้างอิงจากคำอธิบาย รศ.ดร.นพ.ชัชวาลย์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ช่วยสรุปสั้นๆให้เข้าใจได้ง่ายๆในงาน Open House Spiritual Inflluencer ปีที่ 2 ว่า

Spiritual Health คือ อะไร ?

ภาษาไทย คือ “สุขภาวะทางปัญญา”

เหตุผลที่ต้องใช้คำแปลนี้ ถึงแม้ว่า คำว่า Spiritual แปลว่า จิตวิญญาณ ก็ตาม

เพราะในพุทธศาสนาไม่มีเรื่อง วิญญาณ,ผีสาง กลัวจะเป็นความเข้าใจผิด ถ้าใช้ “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” ซซึ่งจะต้องแยกความหมาย จิต, วิญญาณ และวุ่นวายว่าวิญญาณคือผีสางมั้ย ?

(ก็เลยไม่ใช้ Spiritual ว่า จิตวิญญาณ, วิญญาณ เพราะกลัวจะสับสน และเกิดความเข้าใจผิดกับชุดความหมายทางศาสนา ที่ได้หารือร่วมกับผู้รู้นักวิชาการทั้งหลายมาก่อนหน้านี้หลายปีมาแล้ว)

นี้คือคำอธิบาย นิยามล่าสุด ที่เหล่านักวิชาการครูบาอาจารย์ ได้ที่พยายามหาข้อสรุปและตกลงร่วมกัน

เลยสรุปลงว่า Spiritual Health คือ “สุขภาวะทางปัญญา

นิยาม สุขภาวะทางปัญญา คือ
สุขภาวะที่เกิดจากการเข้าใจตนเองและชีวิต
เห็นความเชื่อมโยงกับผู้อื่น โลก ธรรมชาติ
นำไปสู่การร่วมสร้างสังคมเกื้อกูล
แผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา (พ.ศ. 2568-2572)

spiritual health คือ สภาวะที่เหนือความเป็นตัวเป็นตน (Beyond Meterials)

แล้ว Spiritual คืออะไร ?
ก็คือ สภาวะที่เหนือความเป็นตัวเป็นตน (Beyond Meterials)
ที่ทุกคนมีอยู่ และสัมผัมสภาวะนั้นได้อยู่แล้ว

หน้าที่ของเราก็คือกลับเข้าไปสัมผัสสภาวะที่มีอยู่แล้วกับตัวเรา
รศ.ดร.นพ.ชัชวาลย์ ได้ยกตัวอย่างวิธีการกลับไปสัมผัสสภาวะนั้น ดังนี้

ตอนนี้เรารู้ไหมว่าเรานั่งอยู่ ?
= รู้

ใคร คือคนนั่ง ?
= ตัวเรา

เราสังเกตุเห็นไหม ว่า (สภาพนั่ง) ถูกรู้ ?
= ตัวรู้
#ตัวรู้ นี้แหละที่อยู่เหนือตัวตน
มันกำลัง “รู้ตัวตน” อยู่

เมื่อเรา Maintain “สภาวะรู้” ได้แบบนี้เรื่อยๆ จะเกิด “ความสามารถในการสังเกตตัวตน” (Self Observation)
ความสามารถในการสังเกตตัวตน (Self Observation)
ถือเป็นจุดตั้งต้น ของสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health)

เมื่อสังเกตตัวตนได้ก็จะนำไปสู่ความสามารถในการตระหนักรู้ตนเอง (Self Awareness)
แต่หากสังเกตตัวตนไม่ได้ ก็จะจมอยู่ในโลกใบนี้ เกิดความไม่เข้าใจและหลงจมกับมันจนเกินไป

ความสามารถในการสังเกตตัวตน (Self Observation)
ถือเป็นจุดตั้งต้น ของสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health)”

Spiritual Health  “สุขภาวะทางปัญญา” สำคัญอย่างไรกับชีวิตเรา ?

เพราะถ้าเราไม่ทันสังเกต
ไม่ตระหนักรู้เท่าทัน

จะเกิดการ Disconnect with Self (ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อตนเอง) ซึ่งเกิดจากการหลีกเลี่ยงที่จะเชื่อมต่อกับตัวเอง โดยการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกลบความรู้สึกหรือเบี่ยงเบนความสนใจ โดยการ

ไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ คิดทำ Project ใหม่ๆขึ้นมา
เสพติดกับทำงานหนักมากเกิน (Workaholic) จนนำไปสู่ ความเจ็บป่วย หรือ ภาวะ Burnout ตามมา

ซึ่งมาจากการขาดสติ ไม่รู้เท่าทัน หรืออาจเรียกได้ว่า การป่วยทางจิตวิญญาณ เพราะไม่รู้เท่าทันจิตใจของตนเอง เหมือนที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้


ดังนั้น การจะช่วยให้ผู้คนมี “สุขภาวะทางปัญญา” หรือจิตวิญญาณที่ดีนั้น
จึงต้องมีความเข้าใจ และมีความสามารถในการสังเกตตนเอง ตระหนักรู้ เท่าทันความคิดและอารมณ์ของตนเอง


ความสำคัญของการส่งเสริม “สุขภาวะทางปัญญา” ให้เกิดขึ้นในการทำงาน ?

สุขภาวะทางปัญญาหรือ Spiritual Health เป็นองค์ประกอบลับที่สำคัญในชีวิตซึ่งมักถูกมองข้าม แต่จริงๆ แล้วมีบทบาทสำคัญต่อการมีชีวิตที่มีความสุขและสมดุลในระยะยาว สุขภาวะทางจิตวิญญาณเชื่อมโยงเราเข้ากับบางสิ่งที่ลึกซึ้งและมีความหมายมากกว่าความสำเร็จหรือความมั่งคั่งทางวัตถุ การเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณสามารถเติมเต็มชีวิตของเราให้ชีวิตมีความหมายและสมดุลมากขึ้นในหลายๆ ด้าน ดังนี้ค่ะ

1. เพิ่มความหมายในชีวิต (Meaning of Life)

  • เมื่อเรามีสุขภาวะทางปัญญาที่ดี เราจะสามารถมองชีวิตในมุมที่ลึกซึ้งขึ้น ค้นหาความหมายและจุดมุ่งหมายของตัวเองได้ ไม่ว่าในเรื่องงาน ความสัมพันธ์ หรือการเติบโตส่วนบุคคล
  • ช่วยให้เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรเพื่ออะไร และมักจะมีแรงบันดาลใจที่มาจากภายในเพื่อก้าวต่อไปในชีวิต (Aspiration)

2. ช่วยจัดการกับความเครียดและความยากลำบาก (Stress Management)

  • เมื่อมีสุขภาวะทางปัญญา เรามักจะมีความสามารถในการรับมือกับความเครียดและอุปสรรคในชีวิตได้ดีขึ้น เพราะเรามีมุมมองที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นในการเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ(Resilience)
  • ช่วยให้เราไม่ยึดติดกับปัญหาในโลกภายนอกจนเกินไป แต่หันกลับมาสู่ความสงบภายในตัวเอง

3. เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship Building)

  • สุขภาวะทางปัญญาทำให้เรามีความสามารถในการเข้าใจตัวเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและเต็มไปด้วยความเห็นใจ (Empathy)
  • ช่วยเสริมสร้างความรักและความเข้าใจในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคู่ชีวิตได้ดีขึ้น

4. ความรู้สึกของการเชื่อมโยงกับสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเอง (Sense of connection to something bigger than self)

  • หลายคนพบความสุขจากการรู้สึกว่าพวกเขาเชื่อมโยงกับสิ่งที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างเช่น ความเชื่อทางศาสนา, ธรรมชาติ, หรือความคิดในเชิงปรัชญาที่ลึกซึ้ง
  • การมีสุขภาวะทางปัญญาช่วยให้เราเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้ และสร้างความสงบภายในตัวเองจากการเชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

5. การมีความสุขจากภายใน (Inner Peace)

  • การดูแลสุขภาวะทางปัญญาช่วยให้เราเข้าถึง “ความสงบภายใน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากการมีเงินทองหรือสิ่งของภายนอก
  • เมื่อเรามีจิตใจที่สงบและรู้สึกเชื่อมโยงกับตัวเอง เราจะสามารถสัมผัสกับความสุขที่แท้จริงได้จากภายใน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก
การมีความสุขจากภายใน

6. ส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Personal Growth)

  • สุขภาวะทางปัญญาช่วยให้เรารู้จักพัฒนาตัวเองทั้งในด้านความคิดและจิตใจ มันทำให้เรามองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้และการเติบโตในทุกช่วงชีวิต
  • เปิดโอกาสให้เรามีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงและเติบโตในทางที่ดีขึ้นได้

7. การส่งเสริมความมีสติและการตระหนักรู้ (Self Awareness & Mindfulness)

  • การฝึกฝนสุขภาวะทางปัญญามักเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติ (Mindfulness) และการตระหนักรู้ในขณะปัจจุบัน ทำให้เราไม่ถูกจมอยู่กับอดีตหรือกังวลกับอนาคต
  • เมื่อเรามีความตระหนักรู้ในชีวิต เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีสติและใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่า 

การดูแลสุขภาวะทางปัญญาจึงไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการฝึกจิตใจให้สงบหรือการมีความเชื่อทางศาสนา แต่มันเกี่ยวข้องกับการสร้างความสมดุลระหว่างการมีชีวิตในโลกใบนี้และการค้นหาความหมายภายในตัวเอง ซึ่งสามารถช่วยให้ชีวิตของเรามีความสุขและสมดุลมากยิ่งขึ้นค่ะ


บทสรุป

จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ PALAGRIT ในการให้บริการจัดฝึกอบรมหลักสูตร Mindfulness At Work และให้คำปรึกษาเพื่อช่วยการบริหารจัดการความเครียดและการดูแลสุขภาวะ (Well-being)

สำหรับบุคลากรในหลากหลายองค์กร พบว่าความสำคัญของสุขภาวะทางปัญญาในการทำงานยุคสมัยใหม่เป็นเรื่องที่หลายคนมักมองข้ามไป เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวหรือเกี่ยวข้องกับศาสนา

หากทุกคนหันกลับมาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้นไม่เพียงแต่ช่วยลดความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาวะทั้งร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน

ซึ่งส่งผลดีต่อบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างรวดเร็วนี้ ความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลกำไรเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาวะและความสุขของทีมงานด้วย

อ้างอิง :
รศ.ดร.นพ.ชัชวาลย์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จากกิจกรรม Open House Spiritual Inflluencer  ปีที่ 2 
https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/สุขภาพทางปัญญา_%28spiritual%20health%29_0.pdf
“Spirituality and Health: The Art of Healing” (Puchalski, C.M., & Ferrell, B., 2013)
“The role of spirituality in Mental health” (King, M., et al., 2007)
Mental health: a State of Well-being” (WHO, 2014)
The Power of Now” โดย Eckhart Tolle

หากคุณสนใจทักษะที่จะนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Future Skills ทักษะอะไรบ้างที่จะเป็นที่ต้องการในปี 2025

Future Skills หรือทักษะแห่งอนาคตคืออะไร Future Skills คือ ทักษะและความสามารถที่สำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตและการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราแทบทุกด้าน เป็นทักษะที่เน้นเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในศตวรรษที่ 21…...

future skills ทักษะแห่งอนาคต

Soft Skill มีอะไรบ้าง รวม 8 ทักษะสำคัญในการทำงานปี 2025

ในยุคที่ความสามารถทางอารมณ์และสังคมสำคัญพอๆกับความสามารถทางเทคนิค Soft Skill เป็นคำตอบสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เสริมสร้างโอกาสในหน้าที่การงานในทุกองค์กร Soft Skill คืออะไร? Soft Skill…...

Soft Skill มีอะไรบ้าง

Resilience ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี

Resilience คืออะไร Resilience หรือ "ความยืดหยุ่น" หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวจากความยากลำบาก ความเครียด หรือสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยไม่สูญเสียความมั่นใจและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต…...

ทักษะ resilence คืออะไร

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือชุดของทักษะ ความรู้ที่สำคัญเพื่อประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ และเตรียมพร้อมสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความท้าทาย...

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ขออภัยค่ะ ยังไม่มีหลักสูตร Public Training ในช่วงนี้

กรุณากรอกชื่อและอีเมลฝากไว้ได้นะคะ เราจะแจ้งให้ทราบถ้ามีข้อมูลอัพเดทค่ะ
Subscription Form